เฟอร์ตามิน
สูตรนาข้าว

เมล็ดแกร่ง เมล็ดเต็ม เพิ่มการแตกกอ

ลักษณะผลิตภัณฑ์ : น้ำ / ขนาดบรรจุ: 1 ลิตร

 

คุณสมบัติ

  • อาหารเสริมทางใบ พืชนำไปใช้ได้ทันที
  • มีธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม และแร่ธาตุที่พืชต้องการอย่างครบถ้วน
  • ทำให้ต้นข้าวแข็งแรง ผลผลิตงาม ได้น้ำหนัก
  • เพิ่มความแข็งแกร่งของคอรวงข้าว เพิ่มการแตกกอ
  • ช่วยทำให้ใบธงหนา ตั้ง และแข็งแรง เพื่อทำการสังเคราะห์แสงได้ตลอดวัน และแมลงไม่สามารถอาศัยอยู่ได้เพราะไม่มีร่มเงา
  • ช่วยพืชสร้างภูมิต้านทานโรค เพิ่มความแข็งแกร่งและความทนทานของพืช เพราะ เฟอร์ตามิน มีส่วนผสมของซิลิคอน ที่ไปช่วยสร้างความแข็งแรงให้เนื้อเยื่อของพืช ทำให้พืชติดโรคยากขึ้น
  • สร้างขนและขี้ผึ้งตามใบธง เป็นการสร้างภูมิต้านทานให้โรคและแมลงรบกวนน้อยลง เพราะเมื่อใบมีขนที่แข็งแรงและจำนวนมากพอ แมลงก็จะไม่เลือกที่จะมาอาศัยอยู่ โรคพืชจำเป็นต้องพึ่งน้ำเพื่อการแพร่ขยาย แมลงทุกชนิดก็ต้องการความชื้นในการดำรงชีวิต ใบที่มีขี้ผึ้งมากพอจะมีลักษณะมัน เมื่อใบมัน น้ำก็จะไม่เกาะ ใบที่มีขี้ผึ้งจึงไม่ใช่ใบที่เชื้อโรคและแมลงเลือกที่จะมาอาศัยอยู่
  • เมื่อใช้ เฟอร์ตามิน สูตรนาข้าว ร่วมกับ แม็กซ์ไซส์ สามารถยืดคอรวงข้าวและเพิ่มจำนวนเมล็ดข้าวต่อรวง เป็นการเพิ่มผลผลิตได้มากยิ่งขึ้น
  • เป็นสารสกัดจากธรรมชาติ ปลอดสารพิษ ปลอดภัยสำหรับผู้ใช้

 

ส่วนประกอบ

ซิลิคอน (Si) โบรอน (B) ทองแดง (Cu) เหล็ก (Fe) แมกนีเซียม (Mg) แมงกานีส (Mn) สังกะสี (Zn) สาร EDTA และ Amine base


วิธีการใช้ ( 10 ซีซี. = 1 ช้อนโต๊ะ) (เขย่าก่อนใช้)

  • ผสมในอัตรา 20 ซีซี. กับน้ำ 20 ลิตร (ควรใช้น้ำ 100 ลิตร ต่อไร่)
  • ฉีดพ่นให้ได้ 5 ครั้งตามระยะ
    • หลังหว่านข้าว 15 วัน หรือหลังดำข้าว 10 วัน (ให้ต้นข้าวตั้งตัวได้เร็วขึ้น)
    • 5 วัน หลัง ใส่ปุ๋ยครั้งแรก (หลังหว่านหรือดำประมาณ 20 วัน)
    • 5 วัน หลังใส่ปุ๋ครั้งที่สอง ( หลังหว่านหรือดำประมาณ 45 วัน)
    • ช่วงข้าวตั้งท้อง (ให้การตั้งท้องสมบูรณ์)
    • ช่วงข้าวเป็นลูกหวาย (เพิ่มน้ำหนักเมล็ดข้าว)
  • เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุด ควรใช้ เฟอร์ตามิน สูตรนาข้าว + แม็กซ์ไซส์ หลังจากต้นข้าวตั้งตัวได้ (ดูอัตราการผสมจากแม็กซ์ไซส์)

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

ต้นข้าวพันธุ์ต่างๆ มักมีปมด้อยทางพันธุกรรม และมักเห็นชัดในข้าวหอมมะลิ นั่นคืออาการคอรวงนิ่ม ซึ่งเป็นอาการที่เกษตรกรมักมองข้ามและไม่เห็นเป็นปัญหา แต่ในความเป็นจริง เมื่อต้นข้าวมีอาการคอนิ่มและคอรวงหักลง รวงข้าวที่มีเมล็ดข้าวก็มีโอกาสได้รับอาหารลดลงทันทีเพราะท่อลำเลียงอาหาร (คอรวง) มีขนาดแคบลงจากการที่คอรวงหัก เป็นผลทำให้ผลผลิตข้าวหอมมะลิต่ำลงอย่างเห็นได้ชัด