มัลติพลัส
ดินร่วน เพิ่มราก เพิ่มผลผลิต
ลักษณะผลิตภัณฑ์ : ผง / ขนาดบรรจุ: 1 และ 10 กิโลกรัม
|
|
|
คุณสมบัติ
- ช่วยลดค่าใช้จ่ายปุ๋ยเคมีได้มากถึง 50% เพราะเมื่อนำ มัลติพลัส ไปคลุกกับปุ๋ยเคมี จะทำให้ปุ๋ยเคมีละลายช้าลง
- สารปรับสภาพดินให้กลายเป็นดินร่วน แก้ปัญหาดินแข็ง
- สารปรับสภาพและควบคุมความเป็นกรด-ด่างของดิน (ค่า pH) แก้ปัณหาดินเป็นกรด
- สารเร่งราก เพิ่มปริมาณรากพืชขึ้น 2 3 เท่า
- ทำให้รากพืชแข็งแรงและสมบูรณ์ขึ้นอย่างเต็มที่
- ช่วยพืชสร้างภูมิต้านทานโรค เพิ่มความแข็งแกร่งและความทนทานของพืช เพราะ มัลติพลัส มีส่วนผสมของซิลิคอน ที่ไปช่วยสร้างความแข็งแรงให้เนื้อเยื่อของพืช ทำให้พืชติดโรคยากขึ้น
- มีธาตุอาหารที่พืชต้องการอย่างครบถ้วน
- ช่วยจับยึดธาตุอาหารในดินไม่ให้สูญเสียไปกับน้ำ
- สามารถใช้เป็นสารจับใบคุณภาพสูง
- เพิ่มปริมาณและน้ำหนักของผลผลิต
- ช่วยให้พืชสร้างฮอร์โมนได้อย่างครบถ้วนตามธรรมชาติ
- เป็นสารสกัดจากธรรมชาติ ปลอดสารพิษ 100% ปลอดภัยสำหรับผู้ใช้
หมายเหตุ :
มัลติพลัส ไม่ใช่ ปูนขาว, ยิบซั่ม, ทริดิไมท์, ซีโอไลท์, ภูไมท์, สเมกไทต์ , โดโลไมท์
ส่วนประกอบ
ซิลิคอน (Si) โบรอน (B) แคลเซียม (Ca) ทองแดง(Cu) เหล็ก (Fe) แมกนีเซียม (Mg) แมงกานีส (Mn) สังกะสี (Zn) สาร EDTA และ Amine base
วิธีการใช้ (10 กรัม = 1 ช้อนโต๊ะ)
กรณีที่นำไปเพิ่มผลผลิต
- ผสมในอัตรา 20-50 กรัม กับน้ำ 20 ลิตร คนให้เข้ากัน
- รดหรือฉีดโคนต้น และบริเวณทรงพุ่ม เพื่อเร่งการปรับสภาพดินและราก
กรณีที่นำไปปรับสภาพดิน
- หว่าน มัลติพสัส ปริมาณ 5 10 กก./ไร่ ก่อนทำการไถเตรียมดิน
กรณีที่นำไปคลุกกับปุ๋ยเคมี
- คลุก มัลติพลัส ในอัตรา 5 กก. กับ ปุ๋ยเคมี 50 กก. (1 ลูก)
- พ่นน้ำ (ใช้ฟ็อกกี้ ถ้ามี) แต่อย่าให้เปียกแฉะ คลุกให้เข้ากัน (เม็ดปุ๋ยจะเปลียนสี)
- บรรจุกลับไปในถุงปุ๋ย ปิดให้มิดชิด
- ทิ้งไว้อย่างน้อย 6 ชั่วโมง ก่อนนำไปใช้
ข้อมูลเพิ่มเติม
มัลติพลัสเป็นสารประกอบประเภทซิลิคอน
มัลติพลัส เกิดจากการสังเคราะห์ สารตระกูลอะลูมินัม ( AI) กับซิลิคอน (Si) โดยเกิดเป็นโพลิเมอร์ (polymer) ขนาดเล็กถึงปานกลาง ที่มีคุณสมบัติในการละลายน้ำได้ดี สารดังกล่าวได้ถูกทดสอบหาความเป็นพิษ โดยทดสอบที่ LD 50 กับหนูขาว ผลที่ได้พบว่าไม่มีหนูทดลองตายสักตัว แม้จะทดลองด้วยปริมาณความเข้มข้นที่มีค่าสูงกว่า 50,000 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม แล้วก็ตาม
ปรับสภาพดินให้มีค่าเป็นกลาง
ดินในประเทศไทยที่ใช้ในการเกษตรที่มีการใส่ปุ๋ยเคมีล้วนมีค่าเป็นกรด (ไม่เหมาะกับการเกษตร) เกษตรกรมักจะใช้ปูนขาวที่มีค่าเป็นด่าง มาผสมลงในดินเพื่อปรับสภาพให้ดินกลับมามีสภาพเป็นกลาง (เหมาะกับการเกษตร) โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่าปูนขาวที่มีค่าประจุเป็นบวก จะส่งผลข้าง เคียงคือทำให้ดินเกาะตัวกันแน่น การที่ดินแน่น จะทำให้รากขาดอากาศหายใจ และระบบรากไม่เดิน มัลติพลัส มีค่าเป็นด่างจึงสามารถไปช่วยปรับสภาพดินที่เป็นกรดให้กลับมามีสภาพเป็นกลาง แต่ มัลติพลัส ไม่ได้มีค่าประจุเป็นบวกเหมือนกับปูนขาว จึงไม่ส่งผลให้เกิดอาการดินแน่น
ทำให้ดินร่วนซุย
ตามหลักวิทยาศาสตร์ สารที่มีประจุเป็นขั้วเดียวกันจะพลักกัน ขณะที่สารที่มีประจุเป็นขั้วตรงข้ามกันจะดูดเข้าหากัน เนื่องจาก มัลติพลัส มีค่าเป็นประจุลบ ดินก็มีค่าเป็นประจุลบ เมื่อนำ มัลติพลัส มาผสมลงในดิน มีผลให้เกิดปฎิกริยาพลักกันเอง ดินจึงแยกออกจากกันกลายเป็นดินที่ร่วนซุย และการมีดินที่ร่วนซุย ส่งผลทำให้รากมีอากาศหายใจและรากพืชเดินและกระจายตัวดีขึ้น
นำไปคลุกปุ๋ยเคมีเพื่อให้ปุ๋ยเคมีละลายช้า
การที่ปุ๋ยละลายช้าลง หมายถึงการที่พืชสามารถทานอาหารได้อย่างสม่ำเสมอ เปรียบเสมือนคนที่ปรกติจะทานอาหาร 3 มื้อต่อวัน ทาน 1 จานต่อมื้อ หากมีอาหารมาวางอยู่ตรงหน้า 20 จาน ก็ทานไม่มีทางหมด พืชก็เช่นเดียวกัน แม้จะใส่ธาตุอาหารมากมายเพียงใด พืชก็ไม่สามารถรับธาตุอาหารได้ทั้งหมดในคราวเดียว หากแต่จะค่อยๆรับในจำนวนที่รับได้ตามระยะเวลาที่เหมาะสม นั้นคือเหตุผลว่าทำไมปุ๋ยที่ละลายช้าจึงเหมาะสมสำหรับพืชมากกว่าปุ๋ยที่ละลายเร็ว
ปุ๋ยเคมีจะมีคุณสมบัติในการดูดความชื้น มัลติพลัส มีความชื้นในตัวจึงทำให้ถูกดูดเข้าไปติดอยู่บริเวณรอบเม็ดปุ๋ย ในขณะเดียวกัน ปุ๋ย N และปุ๋ย K มีค่าประจุบวก ซึ่งตรงกันข้ามกับค่าประจุลบ (-) ของ มัลติพลัส ปุ๋ยเคมีกับ มัลติพลัส จึงมีปฎิกริยาตอบสนองและดูดเข้าหากัน โดย มัลติพลัส จะไปเคลือบอยู่รอบเม็ดปุ๋ย
เมื่อปุ๋ยเคมีที่มี มัลติพลัส เคลือบอยู่ถูกใส่ลงในดินและได้รับน้ำจากน้ำที่รดหรือจากน้ำฝน สารดังกล่าวจะเปลี่ยนสภาพกลายเป็นวุ้นที่หุ้มเม็ดปุ๋ย ทำให้ตัวเม็ดปุ๋ยมีการละลายที่ช้าลงกว่าปุ๋ยปรกติที่ไม่ได้มีการเคลือบด้วย มัลติพลัส หลายเท่า
เพิ่มปริมาณรากพืชขึ้น 2 3 เท่าและช่วยให้รากพืชแข็งแรง
รากเป็นหัวใจในการเพิ่มผลผลิต มัลติพลัส มีส่วนผสมของ Organosilicone ซึ่งมีอิทธิพลต่อระบบน้ำย่อยต่างๆที่กระตุ้นให้ต้นไม้สร้างจำนวนรากมากขึ้นกว่าเดิม ส่วนผสมของ ซิลิคอน จะไปใช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับเนื้อเยื่อของพืช เมื่อเนื้อเยื่อของพืชมีความแข็งแกร่งขึ้น การติดโรคก็เป็นไปได้ยากขึ้น ในขณะเดียวกัน แมลงก็ไม่ชอบที่จะกัดกินพืชที่มีเนื้อเยื่อแข็ง
|